สภาพัฒน์หั่น GDP ปี62 เหลือ 2.6 ต่ำสุดในรอบ 5 ปี

สภาพัฒน์หั่น GDP ปี62 เหลือ 2.6 ต่ำสุดในรอบ 5 ปี

วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2562) ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช) พร้อมด้วยผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สามของปี 2562 และแนวโน้มปี 2562 – 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.6 

โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าจะลดลงร้อยละ 2.0 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.3 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.8 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 6.2 ของ GDP

(สศช. ปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปี 2562 ใหม่เหลือ 2.6% จากเดิม 2.8% – ทั้งนี้เมื่อเดือนพ.ค.2562 วอยซ์ทีวีรายงานว่า สภาพัฒน์ เผยเศรษฐกิจไทยปี 2562 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 17 ไตรมาส หลังยังเผชิญปัญหาสงครามการค้า และบรรยากาศทางการเมืองไม่นิ่ง ปรับลดเป้าจีดีพีเหลือโตเพียงร้อยละ 3.6 จากที่รัฐบาลคาดโตร้อยละ 4.0)

ทั้งนี้ การขยายตัว 2.6% ของเศรษฐกิจไทยปี 2562 นับเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งขยายตัวเพียง 1%

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YOY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2562 ขยายตัวจากไตรมาสที่สองของปี 2562 ร้อยละ 0.1 (%QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2562 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.5

ด้านการใช้จ่าย มีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการบริโภคภาคเอกชน และการเร่งตัวขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของรัฐบาล ในขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าลดลง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า การบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์ดี ร้อยละ 4.2 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งการปรับตัวดีขึ้นของราคาสินค้าเกษตร และการดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ การขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในไตรมาสนี้ สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายสำคัญ ๆ โดยเฉพาะดัชนีปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือน ดัชนีปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล และดัชนีปริมาณการนำเข้าสินค้าหมวดสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งขยายตัวร้อยละ 8.3 ร้อยละ 4.7 และร้อยละ 5.0 ตามลำดับ ในขณะที่ยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลปรับตัวลดลงร้อยละ 6.5 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 60.8 เทียบกับระดับ 64.8 ในไตรมาสก่อนหน้า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 1.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 21.0 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.5 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) การลงทุนรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในขณะที่การลงทุนในสิ่งก่อสร้างทรงตัว ส่วนการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เร่งขึ้นจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 5.6 ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 0.8 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 21.6 เทียบกับอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 16.8 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 19.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในด้านภาคการค้าต่างประเทศ การส่งออกสินค้า 

มีมูลค่า 63,295 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทรงตัว เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 0.4 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.4 กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น น้ำตาล (ร้อยละ 5.1) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 0.3) รถกระบะและรถบรรทุก (ร้อยละ 0.5) รถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 19.5) เครื่องปรับอากาศ (ร้อยละ 4.0) และผลไม้ (ร้อยละ 41.4) เป็นต้น กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าลดลง เช่น ข้าว (ลดลงร้อยละ 35.1) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 27.3) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 3.9) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ลดลงร้อยละ 8.4) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ลดลงร้อยละ 7.2) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 14.2) รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 4.4) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 10.6) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 29.3) และเคมีภัณฑ์ (ลดลงร้อยละ 18.8) เป็นต้น การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 55,333 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 6.8 (ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม) เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงของปริมาณการนำเข้าในหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางร้อยละ 3.8 สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออก ขณะที่ราคานำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า

ศาลตัดสิน ประหาร นักฆ่าทวิตเตอร์ ฆาตกรต่อเนื่องชื่อดังที่ลงมือสังหารเหยื่อ 9 ศพ ที่แสดงเจตจำนงฆ่าตัวตายบนทวิตเตอร์

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม สำนักข่าว เกียวโด ได้รายงานว่า ศาลในประเทศญี่ปุ่นได้ตัดสินให้ นาย ทาคาฮิโระ ชิไรชิ หรือ “นักฆ่าทวิตเตอร์” ฆาตกรต่อเนื่องที่ลงมือสังหารเหยื่อ 9 ศพ ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม ปี 2560

นายชิไรชิ จะลงมือสังหารเหยื่อที่โพสต์ข้อความที่ใจความอยากฆ่าตัวผ่านบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยเหยื่อของ นักฆ่าทวิตเตอร์ เป็นหญิง 8 คน และ ชาย 1 คน ซึ่งคนร้ายถูกล่าวหาว่าได้ล่วงละเมิดทางเพศเหยื่อ

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป