‘ศรีสุวรรณ’ บุก กสทช. ร้องสอบปม ช่อง 5 ตัดสัญญาณท็อปนิวส์

‘ศรีสุวรรณ’ บุก กสทช. ร้องสอบปม ช่อง 5 ตัดสัญญาณท็อปนิวส์

ศรีสุวรรณ ร้อง กสทช. สอบปม ช่อง 5 ตัดสัญญาณท็อปนิวส์ ขณะที่ อัญชะลี กำลังรายงานข่าวเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน ชี้ริดรอนเสรีภาพสื่อ นาย ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางไปยัง กสทช. หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ เพื่อขอให้ไต่สวนรวมถึงเอาผิด ผู้ที่สั่งการให้มีการตัดสัญญาณการเสนอข่าวในรายการข่าว “เที่ยง ททบ.5” ในขณะที่ น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก และ น.ส.กิตติมา ธารารัตนกุล กำลังนำเสนอข่าวเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ผู้จัดรายการเกิดความขัดข้องหมองใจและถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากนั้น

การกระทำดังกล่าว แม้เวลาต่อมา พล.อ.รังษี กิติญานทรัพย์ 

ได้ขอลาออกจากกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ททบ.5 ท่ามกลางกระแสข่าวสะพัดว่า สำนักข่าวท็อปนิวส์ ได้ถอนตัวออกจากช่อง 5 ไปแล้วในสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพบก จะเผยแพร่เอกสารข่าวขอโทษประชาชนกรณีเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น โดยอ้างว่าเกิดจากการขัดข้องทางด้านเทคนิคในการออกอากาศรายการข่าวในวันเวลาดังกล่าว แต่ทว่าคงไม่มีใครเชื่อว่าเป็นปัญหาทางเทคนิตตามคำแถลงดังกล่าว เพราะคนไทยไม่ได้กินแกลบ-กินหญ้า

ทั้งนี้ การกระทำดังกล่าว อาจเข้าข่ายเป็นการแทรกแซงหรือลิดรอนเสรีภาพในการเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน อันเป็นการกระทำต้องห้ามตาม ม.35 วรรคหนึ่ง และ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่บัญญัติไว้ชัดเจนว่า “บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร หรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทํามิได้”

กรณีดังกล่าว เป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการติดตามตรวจสอบและการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ รวมตลอดทั้งป้องกันการกระทำที่มีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้หรือปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารที่ถูกต้องตามความเป็นจริงของประชาชน ตาม ม.27 วรรคแรก (16) และวรรคห้า แห่ง พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่น ความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ.2553

ดังนั้น สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะกรรมการ กสทช. ให้ดำเนินการหรือสั่งการให้มีการไต่สวนสอบสวน และเอาผิดผู้ที่มีอำนาจในการสั่งการให้มีการตัดสัญญาณในรายการข่าว “เที่ยง ททบ.5” เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมาโดยเร็ว เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายแม่บทของชาติต่อไป นายศรีสุวรรณ กล่าว

‘ประยุทธ์’ ติดตามสถานการณ์น้ำ เร่งแก้ปัญหา ภัยแล้ง

โฆษกสำนักนายก เผย ประยุทธ์ เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำ เร่งแก้ปัญหา และ วางแผนป้องกัน ภัยแล้ง บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน นาย ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามและให้ความสำคัญกับสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาภัยแล้งซึ่งเป็นวาระสำคัญของประเทศตามนโยบายรัฐบาล โดยจากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีหลายจังหวัดที่ถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เพราะพื้นที่ของจังหวัดมีแหล่งน้ำต้นทุนไม่เพียงพอ การบริหารจัดการน้ำจึงต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก

ซึ่งการให้ความช่วยเหลือจะเป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ยั่งยืนได้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยประชาชนผู้ใช้น้ำ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้ง บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศทั้งระบบอย่างบูรณาการ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำในฤดูแล้งปี 2565 ที่กำลังมาถึง เน้นย้ำการหาวิธีเก็บกักน้ำ การกระจายน้ำ และการจูงน้ำไว้ใช้ในยามปกติและในฤดูแล้งให้มีน้ำใช้อย่างยั่งยืน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบูรณาการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ศึกษาและบูรณาการขับเคลื่อนแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ในระยะยาวเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำ

โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งซ้ำซาก ให้บูรณาการแผนงาน/โครงการจัดหาแหล่งน้ำใต้ดินร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเชิงพื้นที่ในระยะเร่งด่วน และให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ตรวจสอบสภาพปัญหาที่แท้จริงของพื้นที่ให้ครอบคลุม เร่งทำการสำรวจความเดือดร้อน พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนพื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรวดเร็วและทั่วถึง รวมทั้งให้จังหวัดเร่งเสนอแผนงาน/โครงการสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมไปถึงให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นตรวจสอบสภาพอาคารควบคุมน้ำ เตรียมความพร้อมสำหรับการเก็บกักน้ำในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำกับดูแลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับพื้นที่อย่างใกล้ชิด ต้องเดินหน้าสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ ย้ำการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ แจ้งเตือนให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลสถานการณ์น้ำ ให้ประชาชนตระหนักในการใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งความร่วมมือของทุกภาคส่วน จะทำให้ปัญหาวิกฤตภัยแล้งผ่านพ้นไปได้

“รัฐบาลมีการเร่งรัดและปรับแผนการบริหารจัดการน้ำสำหรับรับมือสถานการณ์น้ำแล้ง รวมทั้งป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในภาพรวมของประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก ที่ต้องให้ความสำคัญกับน้ำกิน-น้ำใช้ เป็นอันดับแรก

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป